สรรพคุณ / ประโยชน์ของแอปเปิ้ล
คุณค่าโภชนาการเมื่อกินโดยไม่ปอกเปลือกจะมีพลังงาน 80 แคลอรี วิตามินบี 6 เท่ากับ 0.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 7.9 มิลลิกรัม เหล็ก 0.2มิลลิกรัม ทองแดง 0.1 มิลลิกรัม และโพแทสเซียม 158.7 มิลลิกรัม หากปอกเปลือกปริมาณสารสำคัญต่าง ๆ ก็จะลดลงไปจากที่กล่าวไว้
แอปเปิ้ลมีสารสำคัญคือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ คือ เพคตินมีกรด 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริกช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน นอกจากนั้นยังมีการกล่าวถึงสรรพคุณ บำรุงหัวใจ ลดคลอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสรและฆ่าเชื้อไวรัส
บทความในวารสารการแพทย์สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2470 ยกให้แอปเปิ้ลเป็นผลไม้เหมาะสำหรับผู้ป่วยภาวะเลือดเป็นกรดไขข้อรูมาติก เกาต์ ดีซ่าน และอื่น ๆ
แอปเปิ้ลยังช่วยควบคุมน้ำหนักเพราะมีแป้งและน้ำตาลถึง 75% ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที ดังนั้นความอยากอาหารจึงลดลงทั้งทำให้ไม่รู้สึกหงุดหงิดและอ่อนเพลียระหว่างรอเวลาอาหารมื้อใหญ่ แต่แอปเปิ้ลผลสด ๆ เท่านั้นที่มีสรรพคุณนี้ การดื่มน้ำแอปเปิ้ลไม่ทำให้หายหิวแต่จะทำให้น้ำหนักเพิ่มด้วย กิน แอปเปิ้ลวันละ 2-3 ผลช่วยลดปริมาณคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด แต่จะได้ผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แอปเปิ้ลลดคลอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชาย
คณะวิจัยมหาวิทยาลัยพอลซาบาทิเอร์ เมืองตูลูส ฝรั่งเศส ทดลองในอาสาสมัครวัยกลางคนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย 30 คน โดยให้กินอาหารเหมือนเดิมทุกประการ แต่กินแอปเปิ้ลด้วยวันละ 3 ผล ทุกวัน เป็นเวลา 1เดือน พบว่าอาสาสมัคร 24 คน มีปริมาณคลอเลสเตอรอลในเลือดลดลง บางคนลดมากกว่า 10% และเมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคลอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจะคอยดักจับคลอเลสเตอรอลเหล่านั้นนำไปทิ้งก่อนจะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายเป็นการขจัดคลอเรสเตอรอลออกไป
แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด ปกติเมื่อกินอาหารเข้าไปอาหารแต่ละชนิดจะย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้น เช่น ถ้ากินน้ำผึ้งน้ำตาลในเลือดจะขึ้นฮวบฮาบทันที แต่สำหรับแอปเปิ้ลถึงจะมีน้ำตาลธรรมชาติในเนื้อแอปเปิ้ลมากแต่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เท่านั้น และยังพบว่าคนที่กินอาหารที่มีไฟเบอร์มาก ๆ มีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่กินน้อยและสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย แอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำสูงมาก
แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด ปกติเมื่อกินอาหารเข้าไปอาหารแต่ละชนิดจะย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้น เช่น ถ้ากินน้ำผึ้งน้ำตาลในเลือดจะขึ้นฮวบฮาบทันที แต่สำหรับแอปเปิ้ลถึงจะมีน้ำตาลธรรมชาติในเนื้อแอปเปิ้ลมากแต่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เท่านั้น และยังพบว่าคนที่กินอาหารที่มีไฟเบอร์มาก ๆ มีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่กินน้อยและสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย แอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำสูงมาก
ประโยชน์ของแอปเปิ้ล โดยแบ่งตามสีดังนี้ 1. แอปเปิ้ลแดง มีจุดเด่นที่ดีต่อสุขภาพคือมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์มากที่สุด และยังมีอิลาสตินและคอลลาเจนที่ดีต่อสุขภาพผิวด้วย
2. แอปเปิ้ลสีชมพู มีสารฟิโนลิกมากที่สุดในบรรดาแอ๊ปเปิ้ลด้วยกัน ซึ่งสารนี้ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้าและชะลอความแก่ นอกจากนั้นยังมีฟลาโวนอยด์ที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินซีทำให้ผนังหลอดเลือดฝอยแข็งแรง ลดการอักเสบ ลดไข้ รวมทั้งช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย
3. แอปเปิ้ลสีเขียว มีรสเปรี้ยวอมหวานช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนักได้ดี เพราะการกินแอ๊ปเปิ้ลสีเขียวนอกจากจะได้รับน้ำตาลน้อยแล้วยังมีอิลาสตินและคอลลาเจนที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี
4. แอปเปิ้ลสีเหลือง มีประโยชน์ต่างจากสีอื่น ๆ โดยมีสารเควอร์ซิตินที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และ ต้อกระจก
2. แอปเปิ้ลสีชมพู มีสารฟิโนลิกมากที่สุดในบรรดาแอ๊ปเปิ้ลด้วยกัน ซึ่งสารนี้ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้าและชะลอความแก่ นอกจากนั้นยังมีฟลาโวนอยด์ที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินซีทำให้ผนังหลอดเลือดฝอยแข็งแรง ลดการอักเสบ ลดไข้ รวมทั้งช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย
3. แอปเปิ้ลสีเขียว มีรสเปรี้ยวอมหวานช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนักได้ดี เพราะการกินแอ๊ปเปิ้ลสีเขียวนอกจากจะได้รับน้ำตาลน้อยแล้วยังมีอิลาสตินและคอลลาเจนที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี
4. แอปเปิ้ลสีเหลือง มีประโยชน์ต่างจากสีอื่น ๆ โดยมีสารเควอร์ซิตินที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และ ต้อกระจก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น